วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การจัดระบบการเรียนการสอน



การสอนเป็นระบบได้อย่างไร
                การสอนเป็นวิทยาการที่มีระบบครอบคลุมการดำเนินงานการสอนตั้งแต่การวางแผน 
การเตรียมการสอนจนถึงการประเมินและการปรับปรุงการสอน
  โดยที่การสอนเป็นวิทยาการแขนงหนึ่ง  การสอนจึงเป็นระบบด้วยเหตุผล  ประการ  คือ
1.  ครูต้องมีการสำรวจสภาพต่างๆในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการ
สอน  สภาพผู้เรียนและเนื้อหาสาระที่จะนำมาถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน
2.       ครูต้องมีการวางแผนโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสภาพแวดล้อมต่างๆในการวาง
แผนการสอนครูต้องกำหนดเนื้อหาที่จะสอน  กำหนดมโนมติวัตถุประสงค์  กิจกรรมการเรียน   
สื่อการสอน
  และการประเมินผลโดยเขียนออกมาในรูปของ  แผนการสอน
3.       ครูต้องมีการเตรียมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนตามที่วางแผนไว้  อาทิ
เตรียมทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอน  เตรียมสร้างแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน  การผลิตสื่อการสอนต่างๆ  ตามกำหนดไว้ในแผนการสอน  เป็นต้น
4.       เมื่อถึงเวลาสอนครูก็มีแนวทางและวิธีการสอนตามขั้นตอนเพื่อให้นักเรียนแสดงการ
เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน
5.       เมื่อสอนเสร็จแล้วครูต้องประเมินผลการเรียนของนักเรียน  เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการ
เรียนรู้ตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์
6.       ครูต้องมีการประเมินผลย้อนกลับจากสัมฤทธิผลของนักเรียนและจากการประเมินการ
สอนของตนเอง  เพื่อนำไปปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
              จึงสรุปได้ว่า   การสอนเป็นระบบเพราะมี  การวางแผน  เตรียมการจนถึงการประเมินผลและขั้นตอนที่ครอบคลุมการดำเนินงานการสอนตั้งแต่  ปรับปรุงการสอน

ขั้นตอนการจัดระบบการเรียนการสอน
ระบบคือการรวมส่วนย่อยๆ ที่ทำงานเป็นอิสระเข้าด้วยกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ การศึกษาก็จัดเป็นระบบหนึ่ง  มีองค์ประกอบเป็นหน่วยย่อยลงไปคือ  การเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน การจัดการ การบริการ อาคารสถานที่  ร่วมทั้งชุมชน  ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน รวมเป็นหน่วยใหญ่ คือระบบการศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาผู้เรียนการเรียนการสอนจัดเป็นระบบหนึ่ง  มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยเข้า  กระบวนการ และผลลัพธ์  และผลย้อนกลับ  การจัดระบบการเรียนการสอนเป็นการวางแผน การเรียนการสอนอย่างเป็นลำดับต่อเนื่อง
1.   ปัจจัยนำเข้า คือสิ่งต่างๆ หรือข้อมูลที่ต้องใส่ หรือป้อนเข้า เพื่อดำเนินเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ  เช่น ทรัพยากรต่างๆ งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์  เป็นต้น
2.   กระบวนการ หมายถึง การดำเนินการ  ยุทธวิธี หรือกิจกรรมที่ทำต่อปัจจัยนำเข้า  เพื่อให้งานหรือผลผลิตเป็นไปตามต้องการ
 3.   ผลลัพธ์  หมายถึงผลผลิตที่เกิดขึ้นภายหลัง จากการดำเนินการแล้ว และผลผลิตที่ได้ ตรงตามจุดประสงค์ และผลพลอยได้ มีทั้งผลดีและผลเสีย
การสอนในฐานะที่เป็นระบบ  โดยวิเคราะห์จากองค์ประกอบคือปัจจัยนำเข้า กระบวนการและ ผลลัพธ์ และผลย้อนกลับ โดยวิเคราะห์ดังต่อไปนี้
1.ก่อนการสอน  ผู้สอนต้องสำรวจสภาพแวดล้อม สำรวจผู้เรียน ระดับทักษะ ระดับความรู้ ทัศนคคิ ค่านิยม พิจารณาเนื้อหาสาระที่จะสอน ความเหมาะสมกับผู้เรียน
นั่นคือการสำรวจสภาพแวดล้อม รวมทั้งการวางแผนการเรียนการสอน การเตรียมการนี้ จัดว่าเป็นส่วนประกอบแรกของระบบ คือ ปัจจัยนำเข้า
2.เมื่อวางแผนการสอนแล้ว  เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม ผู้สอนจะต้องนำแผนการสอนที่วางไว้ไปสู่การปฏิบัติ ดำเนินการสอนเป็นขั้นตอนต่อไป  ซึ่งเรียกว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้เรียนกับผู้สอน  หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เรียกว่า กระบวนการ
3.เมื่อดำเนินการเรียนการสอนแล้ว  ย่อมได้ผลลัพธ์ คือผลการเรียนของผู้เรียน หรือพฤติกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้  ผู้สอนต้องทำการตรวจสอบว่า ผู้เรียนได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่  และผู้สอนต้องประเมินผลย้อนกลับว่า การสอนของตนนั้นมีส่วนบกพร่องที่ควรปรับปรุงเพียงใด
ผลลัพธ์จากการเรียนการสอน และการประเมินผลย้อนกลับ เรียกว่า ผลลัพท์และผลบย้อนกลับ

จัดเตรียมทรัพยากรและการวางแผนการสอน
               การวางแผนและเตรียมทรัพยากรในการสอนเป็นองค์ประกอบแรกที่ผู้จัดระบบสื่อการสอนต้องกระทำ  ภารกิจที่ต้องทำในองค์ประกอบนี้มี  5 ประการ คือ
1.       สำรวจปัญหา  เป็นการสำรวจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในการสอนมีอะไรบ้างที่จะทำให้การ
สอนเป็นอุปสรรคไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
2.       สำรวจความต้องการ เป็นการสำรวจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในการสอนมีอะไรบ้างที่จะต้องใช้
ในการสอนมากน้อยเพียงใด  เช่น  ความต้องการด้านสื่อ  ความมุ่งมั่นที่จะเรียกให้มีประสิทธิภาพ  เป็นต้น
3.       สำรวจทรัพยากร  เมื่อทราบว่าเรามีปัญหาในการสอนอย่างไร  ต้องการใช้อะไรในการ
สอนใดแล้วเราก็ต้องสำรวจดูว่าทรัพยากรที่ต้องการสำรวจได้แก่ งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์  แนวความคิด  และสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ต้องใช้ในการสอน  กล่าวคือ
3.1      งบประมาณ ทางโรงเรียนมีงบประมาณให้หรือไม่มากน้อยเพียงใดหากโรงเรียนไม่มี
เราจะหาเงินมาจากแหล่งใด หรือ ควักกระเป๋า”  ตนเอง
3.2      วัสดุทดแทน การสอนต้องใช้สื่อการผลิตสื่อบางประเภทเราอาจผลิตขึ้นมาได้โดย
ไม่ต้องซื้อวัสดุราคาแพง  ทว่าอาจใช้วัสดุในท้องถิ่น  เช่น  วัสดุธรรมชาติและวัสดุเหลือใช้  โดยครูและนักเรียนอาจรวบรวมจัดหามา
3.3      เครื่องมืออุปกรณ์ การสอนบางครั้งต้องใช้อุปกรณ์ สื่อบางประเภทเป็นวัสดุที่ต้อง
ใช้ควบคู่กับอุปกรณ์ เช่น สไลด์ต้องมีเครื่องฉายสไลด์ ภาพยนตร์ต้องมีเครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น ครูก็ต้องสำรวจดูว่าเมื่อผลิตขึ้นมาแล้วจะมีอุปกรณ์ให้ใช้หรือไม่
3.4      ความคิดและวิธีการการ  ผลิตสื่อมาใช้ในการสอนเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์เพียงมีความคิด  หรือ “Idea” ดีๆ ก็สามารถผลิตสื่อการสอนได้หลายชนิด ครูจึงควรศึกษาโดยการอ่านหรือคุยกับผู้รู้ ผู้เคยทำว่าสื่อที่จะผลิตขึ้นควรมีรูปแบบอย่างไร
3.5     สภาพแวดล้อม หมายถึง การสำรวจดูความพร้อมของห้องเรียนว่าเหมาะสมที่จะใช้วิธีการสอนนั้นหรือไม่ เช่น การควบคุมแสงสว่าง การมีไฟฟ้าหรือไม่มี เป็นต้น
4.       กำหนดวัตถุประสงค์ เมื่อสำรวจความต้องการ สำรวจปัญหาและทรัพยากรที่ต้องใช้แล้ว
ก็ต้องกำหนดวัตถุประสงค์การสอนที่จะประกันระบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของนักเรียน
5.       วางแผนการสอน เป็นการกำหนดแผนการล่วงหน้าว่าเพื่อจะให้การสอนมีประสิทธิภาพ
ต้องทำอะไรตามลำดับก่อนหลังโดยการเขียนออกมาในรูปแบบแผนการสอน

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดระบบการสอน
                  การจัดระบบการสอน  เป็นการกำหนดขั้นตอนการสอนที่จะใช้เป็นแม่แบบของการสอนที่มีเอกลักษณ์เด่นชัดสำหรับการจัดสอนต่อไปในอนาคต  การจัดระบบการสอนมีลักษณะเช่นเดียวกับการจัดระบบงานต่างๆ  กล่าวคือ  มีการดำเนินตามขั้นตอนหลักที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบของระบบอยู่  ประการคือ  (1)  การจัดเตรียมทรัพยากรและวางแผนการสอน  (2)  การเลือกวิธีการและสื่อการสอน  (3)  การดำเนินการสอน  (4)  ประเมินผลการสอน  รวมทั้งการประเมินผลย้อนกลับเพื่อการปรับปรุงด้วย

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน 
จุดเด่นของระบบเป็นเรื่องของความสัมพันธ์เพื่อเป้าหมายร่วมกัน การดำเนินงานในลักษณะของระบบจึงไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แต่จะเป็นการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุผลตามที่ตั้งไว้
องค์ประกอบหลักใหญ่ ๆ ที่สำคัญของการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอนจะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักของระบบก็คือ 
1.      การวิเคราะห์
2.       การออกแบบ
3.       การพัฒนา
4.       การทดลองใช้
5.      การประเมินผลและปรับปรุง 
การทำงานของระบบจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
1.       ตัวป้อน (input) ได้แก่ ทรัพยากร หรือข้อมูลนำเข้า
2.       กระบวนการเนินงาน (process) ได้แก่ การปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบ เพื่อ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลผลิต 
3.       ผลผลิต (output) ได้แก่ จุดหมายปลายทางของการดำเนินการ
4.       ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ได้แก่ข้อมูล ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ปรับปรุงแก้ไขให้
การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
องค์ประกอบทั้ง 4 จะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง จะมีผลต่อองค์ประกอบอื่นและข้อบกพร่องขององค์ประกอบหนึ่ง ก็จะส่งผลให้องค์ประกอบอื่นบกพร่องด้วย 
1.       ข้อมูลสู่การสอน (Input) ได้แก่ การวางแผนการสอนทั้งด้านจุดประสงค์การสอน เนื้อหา
การจัดกิจกรรมการสอน การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผลแล้วเขียนเป็นแผนการสอน
2.       กระบวนการสอน (Process) เป็นขั้นดำเนินการสอนตามแผนการสอนที่เขียนขึ้น ตั้งแต่
การนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการสอน และขั้นสรุป ในขั้นนี้หัวใจสำคัญอยู่ที่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ทักษะและเทคนิคการสอนของผู้สอนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อดำเนินการสอนแล้วต้องมีการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
                3.
ผลการสอน (Output) เป็นขั้นการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนว่าเกิดผลสัมฤทธิ์มากน้อยเพียงใด หลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนแล้วโดยนำผลการวัดมาประเมิน ถ้าผู้เรียนบรรลุผลตรงตามวัตถุประสงค์ก็แสดงว่าการจัดการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
          4.
ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นขั้นการวิเคราะห์ผล หรือย้อนกลับมาพิจารณาว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง มีปัญหาประการใด โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ หรือผลสัมฤทธิ์ของ ผู้เรียน ถ้าผู้เรียนไม่บรรลุผลตามจุดประสงค์ ก็จำเป็นต้องพิจารณาหาสาเหตุว่ามีข้อบกพร่องในจุดใด แล้วปรับปรุงแก้ไขให้ได้ระบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ต่อไป